วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ตะกร้อ

           เป็นการละเล่นของไทยมาแต่โบราณ แต่ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด แต่คาดว่าราว ๆ ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศอื่นที่ใกล้เคียงก็มีการเล่นตะกร้อ คนเล่นไม่จำกัดจำนวน เล่นเป็นหมู่หรือเดี่ยวก็ได้ ตามลานที่กว้างพอสมควร ตะกร้อที่ใช้เดิมใช้หวายถักเป็นลูกตะกร้อ ปัจจุบัน นิยมใช้ลูกตะกร้อพลาสติก
การเตะตะกร้อเป็นการเล่นที่ผู้เล่นได้ออกกำลังกายทุกสัดส่วน ความสังเกต มีไหวพริบ ทำให้มีบุคลิกภาพดี มีความสง่างาม และการเล่นตะกร้อนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างหนึ่ง



ภาพการประสบความสำเร็จของนักตะกร้อชายในการแข่งขันชีเกมส์
     ท่าเตะของ พรชัย เค้าแก้ว

ประวัติ

      ในการค้นคว้าหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการเล่นกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่าตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้

  • พม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 กองทัพพม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น มีการเล่นตะกร้อในช่วงพัก ซึ่งพม่าเรียกว่า "ชิงลง"
  • ทางมาเลเซียประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า เซปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า
  • ทางฟิลิปปินส์ นิยมเล่นกีฬาชนิดนี้กันมานานแล้ว โดยมีชื่อเรียกของตนว่า ซิปัก
  • ทางประเทศจีนมีเกมกีฬาที่คล้ายตะกร้อแต่เป็นการเตะลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะแสดงให้เห็นผ่านทางภาพเขียนและพงศาวดารจีน
  • ทางประเทศเกาหลีมีเกมกีฬาลักษณะคล้ายคลึงกับของจีนแต่ใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก แทนการใช้ลูกหนักปักขนไก่
  • ประเทศไทยมีความนิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และ สามารถประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้านทักษะและความคิด การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุดิบในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า,หนังสัตว์,หวาย,จนถึงประเภทสารสังเคราะห์ (พลาสติก)
                                              ท่าเตะของ อนุวัฒน์ ไชยชนะ



สนามการแข่งขันเซปักตะกร้อ




สนามแข่งขันเซปักตะกร้อ มีรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณ 2 เท่าของสนามแบดมินตัน มีความยาว 13.4 เมตร กว้าง 6.1 เมตร เพดานหรือสิ่งกีดขวางอื่นใด ต้องอยู่สูงกว่าสนามไม่น้อยกว่า 8 เมตร จากพื้นสนาม (ไม่เป็นพื้นหญ้า หรือพื้นทราย) และต้องไม่มีสิ่งกีดขวางอื่นใดในระยะ 3 เมตรจากขอบสนามโดยรอบ
ความกว้างของเส้นขอบทั้งหมดวัดจากด้านนอกเข้ามาไม่เกิน 4 เซนติเมตร ส่วนเส้นแบ่งแดนความกว้างไม่เกิน 2 เซนติเมตร โดยลากเส้นแบ่งแดนทั้ง 2 ข้างออกตามแนวขวาง แนวเส้นทับพื้นที่ของแต่ละแดนเท่าๆกัน เส้นขอบทั้งหมดนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของแดนสำหรับผู้เล่นแต่ละฝ่าย


ลักษณะของสนามเซปักตะกร้อ


ปลายของเส้นแบ่งแดน ใช้เป็นจุดศูนย์กลางลากเส้นโค้งวงกลมความกว้างเส้น 4 เซนติเมตร โดยขอบในของเส้นดังกล่าวมีรัศมี 90 เซนติเมตร กำหนดไว้เป็นตำแหน่งยืนของผู้เล่นหน้าซ้าย และหน้าขวา ในขณะที่ส่งลูก ในแดนทั้งสอง มีวงกลมซึ่งกำหนดเป็นจุดยืนสำหรับผู้ส่งลูก โดยเส้นที่วาดวงกลมขอบในมีรัศมี 30 เซนติเมตร ความกว้างของเส้นคือ 4 เซนติเมตร จุดศูนย์กลางอยู่ทีระยะ 2.45 เมตร จากเส้นหลังของแต่ละแดน และอยู่กึ่งกลางตามแนวกว้างของสนาม

บรรยากาศของผู้ชมเซปักตะกร้อ


ตาข่าย


ท่าเสิร์ฟของ สืบศักดิ์  ผันสืบ

เส้าและตาข่ายที่ใช้ในการแข่งเซปักตะกร้อ

                                 ตาข่ายที่ใช้ในการแข่งขันเซปักตะกร้อ

 

ตาข่าย จะถูกขึงกั้นแบ่งแดนทั้งสองออกจากกัน ทำจากวัสดุจำพวกเชือกหรือไนลอน ความสูงของตาข่ายบริเวณกึ่งกลาง คือ 1.52 เมตรสำหรับนักกีฬาชาย (1.42 เมตรสำหรับนักกีฬาหญิง) ส่วนความสูงบริเวณเสายึดตาข่าย คือ 1.55 เมตรสำหรับนักกีฬาชาย (1.45 เมตรสำหรับนักกีฬาหญิง)
ตาข่ายมีขนาดรู 6 - 8 เซนติเมตร ผืนตาข่ายมีความกว้าง 70 เซนติเมตร และยาวไม่น้อยกว่า 6.1 เมตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น